C A S B E E
( Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency)
มาตรวัดอาคารเขียวของญี่ปุ่น
Framework of CASBEE: CASBEE Family
CASBEE for Specific Purposes
Application
|
Name
|
For Detached Houses
|
CASBEE for Detached Houses
(for New Construction, for Existing Building) |
For Temporary Construction
|
CASBEE for Temporary Construction
|
Brief versions
|
CASBEE for New Construction (Brief
Version), for Existing
Buildings (Brief version), for Renovation (Brief version) CASBEE for Urban Development (Brief version) |
Local government versions
|
CASBEE-Nagoya, CASBEE-Osaka,
CASBEE-Yokohama etc.
|
For Heat Island effect
|
CASBEE for Heat Island
|
For Urban Development
|
CASBEE for Urban Development
|
For Cities
|
CASBEE for Cities
|
Research and Development Organization
Past development of environmental performance assessment
STAGE : 1
การประเมินผลอาคารด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นคือ การประเมินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในอาคาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์พื้นฐานปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่อยู่อาศัย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในกับผู้คน
การประเมินผลอาคารด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นคือ การประเมินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในอาคาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์พื้นฐานปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่อยู่อาศัย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในกับผู้คน
STAGE : 2
ความตระหนักในเรื่องของมลพิษทางอากาศของคนในสังคม
ที่มีผลกระทบต่อคนเดินเท้า และในเขตเมืองเช่นกรุงโตเกียวในปี 1960 นำไปสู่การจัดตั้งการประเมินผลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
STAGE : 3
ได้มีวิวัฒนาการของการประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารเพิ่มขึ้นในปี1990
เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้เริ่มคำนึงถึง
การออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น คือ BREEAM, LEEDTM, GB Tool
New Stage in the Environmental Assessment of Buildings
การพัฒนา CASBEE การสร้างกรอบการประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
From Eco-efficiency to Built Environment Efficiency (BEE)
แนวคิดด้านการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสำหรับ CASBEE
มี2
ปัจจัยหลักคือ
inside และ outside (การประเมินผลทั้งภายในและภายนอกอาคาร)
โดยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ(Eco-Efficiency) = มูลค่าผลิตภัณฑ์หรือการบริการ(Product
or Service value)ต่อหน่วยภาระด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Load Unit)
และ ประสิทธิภาพ (Efficiency) อยู่ในคำจำกัดความเดียวกับ ปริมาณการเข้าออก (input
and output Quantities)
จึงเกิดเป็นคำจำกัดความของ BEE หรือ ประสิทธิภาพของอาคารด้านสิ่งแวดล้อม =
คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร(Quality) / L (Load)
ภาระของสิ่งแวดล้อม
Two Categories of Assessment: Q and L
มาตรวัดอาคารเขียวที่ได้รับการคิดค้นขึ้นมาในประเทศญี่ปุ่นชื่อ
CASBEE โดยย่อมาจาก Comprehensive Assessment System for Building
Environmental Efficiency. โดยมีหลักคิดจากสองทางคือ
1. เรื่องของ Q (Quality) หรือคุณภาพ
ซึ่งเป็นการวัดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคาร
2. L (Load) ซึ่งจะเป็นการวัดภาระของสิ่งแวดล้อมที่จะต้องใช้กับอาคารหลังนี้
โดยสมการคือ
ประสิทธิภาพของอาคารด้านสิ่งแวดล้อม = คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร /
ภาระของสิ่งแวดล้อม
หลักคิดคือ
ประสิทธิภาพจะมากได้ก็ต่อเมื่อต้องหาวิธีเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร และ
ลดภาระของสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
Four Target Fields of CASBEE and Its Rearrangement
วิธีการกำหนดกรอบสมมติที่เรียกว่า Hypothetical boundary ในการประเมิน
มีการกำหนดหัวข้อการประเมินดังนี้คือ
Q 1 – สภาพแวดล้อมภายในอาคาร(Indoor
Environment)
L 1 – พลังงาน(Energy)
Environmental Labeling Using Built Environment Efficiency (BEE)
ในการประเมินที่จะออกมาจะได้เป็น Scale ทั้งหมด 5 ระดับ ได้แก่
C มีค่า BEE ต่ำกว่า 0.5 / B- มีค่า BEE เท่ากับ 0.5-1.0
/ B+ มีค่า BEE เท่ากับ 1.0-1.5 / A มีค่า BEE เท่ากับ 1.5-3.0
/ S (excellent), มีค่า มากกว่า 3.0 ขึ้นไป
แนวคิดของ CASBEE ที่เป็นจุดเด่นมากกว่า แนวคิดอื่นๆ คือ
การนำสุขภาพหรือคุณภาพของชีวิตมนุษย์เป็นตัวตั้ง โดยมองเรื่อง
สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรอื่นๆ เป็นตัวรอง
เทียบกับมาตรวัดตัวอื่นที่มองมนุษย์เป็นองค์ประกอบหนึ่ง มีความสำคัญเท่าๆกับ
พื้นที่สีเขียว น้ำ พลังงาน
การมองภาพรวมของความสัมพันธ์ ระหว่างภาระสิ่งแวดล้อม กับ
คุณภาพที่ได้ออกมาดังนั้น ปริมาณที่เป็นตัวเลขชัดเจน หรือจำนวน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่
สัดส่วนว่าใช้ไปเท่าไหร่ และได้ออกมาเท่าไหร่ สำคัญมาก ดังนั้น อาคารเล็ก
หรืออาคารใหญ่ สามารถมีศักยภาพในการปรับการออกแบบให้มีศักยภาพสูงได้ทั้งสิ้น ไม่ได้พึ่งระบบเครื่องจักรใดๆ เน้นผลลัพธ์ เป็นหลัก
ดังนั้นอาคาร Tropical
ที่เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่น มักจะได้ CASBEE สูงมาก ทั้งสิ้น
ระบบการประเมิน
การประเมินมาตรฐานอาคารดังที่ได้กล่าวแล้ว
มีรายละเอียดของหัวข้อการประเมินดังต่อไปนี้
1 ภาคคุณภาพ Q (Building Environmental Quality and
Performance)
1.1 Q –1 สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor
Environment) เป็นส่วนที่พิจารณาถึงคุณภาพภายในอาคาร ได้แก่
การควบคุมเสียงดัง (Noise and
Acoustic) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับเสียงภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
และการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี ได้แก่
- ระดับเสียง (Noise) เป็นการควบคุมระดับเสียงสำหรับพื้นที่ต่าง
ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
- การป้องกันเสียง (Sound Insulation) เป็นการควบคุมระดับการป้องกันเสียงระหว่างพื้นที่ภายในอาคาร
- การเก็บเสียง (Sound Absorption) เป็นการกำหนดให้มีการเก็บเสียงภายในพื้นที่ที่เหมาะสม
ภาวะอากาศน่าสบาย (Thermal Comfort) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับอุณหภูมิ
ความชื้นภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
และการสร้างสภาวะอากาศที่น่าสบาย
- การควบคุมอุณหภูมิ (Room Temperature
Control) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
- การควบคุมความชื้น (Moisture
Control) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับความชื้นภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
- ชนิดของระบบปรับอากาศ (Type of
Airconditioning System) เป็นการเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่สามารถควบคุมสภาวะอากาศได้ดี
การให้แสงสว่าง (Lighting and Illumination) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับแสงสว่างภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
และการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี
- การใช้แสงธรรมชาติ (Daylighting) เป็นการนำแสงธรรมชาติมาใช้เพื่อให้เกิดคุณภาพภายในอาคารที่ดี
ทำให้ผู้ใช้อาคารมีปฏิสัมพันธ์กับแสงภายนอกและมีการใช้แสงธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขอนามัย
- การป้องกันแสงจ้า (Anti-Glare
Measures) เป็นการใช้แสงสว่างที่นุ่มนวล ป้องกันการรบกวนจากความจ้าของแสง
- ระดับความสว่าง (Illumination
Levels) เป็นการจัดให้ระดับของแสงสว่างเหมาะสมและกลมกลืนและป้องกันการที่แสงสว่างขัดกัน (light
contrast)
- การควบคุมระดับแสงสว่าง (Lighting
Controllability) มีระบบการควบคุมแสงสว่างที่สะดวกกับการใช้งานและสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน
คุณภาพอากาศ (Air Quality) เป็นการพิจารณาการควบคุมระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี
และส่งเสริมการที่มีสุขอนามัยที่ดีสำหรับผู้ใช้อาคาร
- การควบคุมแหล่งอากาศ (Sources
Control) เป็นการควบคุมแหล่งของอากาศเสีย ตำแหน่งการระบายอากาศเสีย
และการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคาร
- ปริมาณการระบายอากาศ (Ventilation) เป็นการควบคุมปริมาณการระบายอากาศและอากาศบริสุทธิ์
- แผนการจัดการ (Operation Plan) เป็นการจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร
1.2 Q - 2 คุณภาพการบริการ (Quality of Service) เป็นส่วนของคุณภาพการให้บริการที่ดี
และสร้างความพึงพอใจกับผู้ใช้อาคาร
ความสามารถในการบริการ (Service Ability)
- การใช้งาน (Functional and
Workability) สามารถใช้อาคารได้โดยมีประโยชน์ใช้สอยตามต้องการ
- ความสวยงาม (Mentality-Coziness) เป็นอาคารที่มีรูปแบบที่สวยงาม
และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม
ความคงทน (Durability) เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความคงทน
มีอายุการใช้งานที่เหมาะสม คุ้มค่า และไม่เป็นภาระกับการดูแลรักษาอาคาร
- การป้องกันแผ่นดินไหว (Earthquake
Resistance) สามารถป้องกันความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหว
- การดูแลรักษา การปรับปรุง อายุการใช้งาน (DailyMaintenance-Updating-Frequency) ต้องการดูแลรักษาน้อย
มีอายุการใช้งานยาวนาน
ความยืดหยุ่นและการปรับการใช้ (Flexibility
and Adaptability) เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งาน
และการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้งาน
- การสำรองพื้นที่ (Space Margin) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีพื้นที่สำรองสำหรับการขยายตัวในอนาคต
- การสำรองน้ำหนัก (Floor Load Margin) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีการสำรองน้ำหนักสำหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้
- การเปลี่ยนแปลงการใช้ (Adaptability
of Facilities) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งาน
และการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้งาน
1.3 Q – 3 สภาพแวดล้อมโดยรอบอาคาร (Outdoor Environment on Site) เป็นส่วนของคุณภาพสภาวะแวดล้อมภายในพื้นที่โครงการ
เพื่อมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคาร โดยมีหัวข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
การดูแลรักษาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Maintenance
and Creation of Ecosystem) เป็นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ง่ายต่อการดูแลรักษาและการอยู่อาศัย
ภูมิสถาปัตยกรรม (Townscape and
Landscape) มีการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่สวยงามและสัมพันธ์กับสภาพภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง
ลักษณะท้องถิ่นและวัฒนธรรม (Local
Characteristics and Culture)เป็นการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่สอดคล้องกับลักษณะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
2. ภาคภาระ L (Environmental Loading)
เป็นส่วนของการประเมินผลกระทบของการก่อสร้างอาคารกับสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ
โดยการมองภาพว่า การก่อสร้างอาคารเป็นภาระกับสภาพแวดล้อมชุมชน และเมืองอย่างไร
2.1 L –1 การใช้พลังงาน (Energy)
การใช้พลังงานเป็นหัวข้อสำคัญเป็นอันดับแรก
เนื่องจากการใช้พลังงานสร้างภาระกับระบบสาธารณูปโภคต่อชุมชนต่อเมือง ต่อประเทศ
และต่อสังคมโลกโดยรวม
การใช้พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สร้างผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทางด้านภาวะเรือนกระจกที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคร้ายต่าง
ๆ รวมทั้งสร้างปัญหาจากความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อน ดังนั้น อาคารที่ดีในอนาคตจะต้องเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานหัวข้อการพิจารณาในเรื่องของการใช้พลังงานมี
ดังนี้
ภาระการทำความเย็น (Building Thermal
Load) อาคารในปัจจุบันต้องใช้ระบบปรับอากาศ และหากมีการออกแบบที่ดี
ระบบปรับอากาศไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ โดยมีปัจจัยในการพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
- ทิศอาคาร (Building Orientation) การกำหนดทิศของอาคารเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดหรือการกำหนดให้ด้านสกัดหรือด้านทึบของของอาคารบังแดด
จะช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้
- ภาระความร้อนจากหน้าต่าง (Thermal Load of
Windows) ปริมาณพื้นที่กระจกหน้าต่าง การเลือกใช้กระจก การบังเงาให้กับกระจก
เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่อาคาร
- ฉนวนอาคาร (Insulation Level of Exterior
Wall and Roof) อาคารที่ดีจะต้องมีการจัดทำฉนวนป้องกันความร้อนและความชื้นเป็นอย่างดี
ทั้งที่ผนังอาคารและหลังคา
การใช้พลังงานจากธรรมชาติ (Natural
Energy Utilization) การประเมินมาตรฐาน ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศและธรรมชาติ
และเห็นความสำคัญของการนำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์
และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร
- การใช้พลังงานจากธรรมชาติทางตรง (Direct
Utilization of Natural Energy) เช่น การนำแสงธรรมชาติมาใช้
การระบายอากาศตามธรรมชาติ
- การใช้พลังงานจากธรรมชาติทางอ้อม (Indirect
Utilization of Natural Energy) เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การใช้พลังงานจากลม
ประสิทธิภาพของระบบวิศวกรรม (Efficiency
in Building Systems) เป็นส่วนของการวางแผน การออกแบบ การก่อสร้าง
โดยพิจารณาจากการออกแบบอาคารและระบบประกอบอาคารที่มีประสิทธิภาพ เช่น
ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ
ระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพ การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่
ระบบควบคุมการใช้อาคารที่มีประสิทธิภาพ การใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ
โดยดูจากประสิทธิภาพของระบบ อุปกรณ์และระบบวิศวกรรมเป็นสำคัญ ได้แก่
ระบบปรับอากาศ(HVAC system) ระบบระบายอากาศ (ventilation system) ระบบแสงสว่าง
(lighting system) ระบบทำน้ำร้อน (water heating system) และระบบลิฟต์
(elevator system)
ประสิทธิภาพการใช้ (Efficient
Operation)
- การตรวจสอบปริมาณการใช้พลังงาน (Monitoring)
เป็นส่วนของการตรวจสอบและการวัดปริมาณการใช้พลังงาน
โดยเกณฑ์ในการพิจารณาคือ ดัชนีค่าการใช้พลังงานต่อตารางเมตรต่อปีของอาคาร
ในหน่วยของเมกะจูลต่อตารางเมตรต่อปี หรือกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี
เป็นต้น
- การบริหารจัดการ (Operational Management
System) เป็นส่วนของการดำเนินการใช้อาคาร
โดยพิจารณาจากโครงสร้างการบริหารและการจัดการอาคารที่ดีทำให้มีการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
2.2 L–2 การใช้ทรัพยากรและวัสดุ (Resources
and Materials)
เนื่องจากทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานและมีต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มา
ดังนั้น การนำทรัพยากรและวัสดุไปใช้
จะต้องนำไปใช้อย่างรู้คุณค่าและมีมาตรการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือ
น้ำ (Water Resource)
- การประหยัดน้ำ (Water Saving) เป็นการพิจารณาการบริหารและการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
- การพิจารณานำน้ำฝนและน้ำทิ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์
(Utilization of Rain Water and Gray Water) เป็นการพิจารณานำน้ำฝนมาใช้ให้เป็นประโยชน์
รวมทั้งความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Materials) เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
และเป็นการลดภาระของขยะและของเสีย
- การนำเศษวัสดุกลับมาใช้ (Use of Recycled
Material) เป็นมาตรการเพื่อลดปริมาณขยะ และใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด
- การใช้ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ (Use of Wood
as Natural Materials) การใช้ไม้เป็นองค์ประกอบ นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกของธรรมชาติแล้ว
ไม้ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะตามมาโดยจะต้องมีการจัดหาไม้ที่ได้มาจากระบบการปลูกป่า
และไม่ทำลายสภาพของป่า
- การควบคุมการใช้วัสดุอันตราย (Use of
Hazardous Materials) เป็นการพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วัสดุที่ปลอดภัย และการใช้วัสดุที่สามารถนำไปแปรรูปและนำกลับมาใช้ได้ใหม่
ไม่มีส่วนประกอบของวัสดุแอสเบสตอส และหลีกเลี่ยงการใช้โฟม
ไม่ใช้วัสดุที่มีกลิ่นและไอระเหยที่เป็นพิษ
- การใช้โครงสร้างอาคารเดิม (Reuse of
Existing Skeleton) การที่สามารถใช้โครงสร้างอาคารเดิมได้
ทำให้ลดขยะจากการทำลายอาคารและรื้อถอนอาคาร และเป็นการใช้ประโยชน์จากของที่มีอยู่
- การควบคุมขยะ (Waste Disposal) เป็นมาตรการดูแลจัดการขยะและเศษวัสดุในการก่อสร้างอาคาร
- การหลีกเลี่ยงการใช้สาร CFCs และ Halons
(Avoidance of CFCs and Halons) สารเหล่านี้
คือสารที่ทำลายชั้นโอโซนและทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
จึงแนะนำให้เลิกและไม่ใช้สารเหล่านี้อีกต่อไป
2.3 L –3 สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ (Off-Site
Environment)เป็นส่วนที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบกับสภาวะแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครงการที่จะมีผลกับชุมชนและเมือง
มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution)
- มลภาวะทางอากาศ (Emissions of Air
Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพอากาศเสียที่ปล่อยออกจากโครงการ
รวมทั้งผลกระทบของอากาศเสียกับภาวะเรือนกระจก
- มลภาวะทางน้ำ (Emissions of Water
Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพน้ำเสียที่ปล่อยออกจากโครงการ
- มลภาวะของดิน (Emissions of Soil
Pollutants) เป็นการควบคุมคุณภาพของดินที่เกิดจากการแพร่กระจายของสารพิษ
เสียงและกลิ่นรบกวน (Noise and
Offensive Odors) เป็นการพิจารณาผลกระทบจากเสียงรบกวน และกลิ่นรบกวน
- เสียงดังรบกวน (Noise Generation) เป็นการควบคุมเสียงรบกวน
เช่น เสียงจากเครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- กลิ่นรบกวน (Offensive Odors) เป็นการควบคุมกลิ่นรบกวน
เช่น กลิ่นเหม็นจากน้ำเสีย กลิ่นเหม็นจากขยะ กลิ่นเหม็นจากสารเคมี
ลม (Wind Damage) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ
แสงสว่าง (Light Damage) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ
การสะสมความร้อน (Heat Island Effect) เป็นการพิจารณาผลกระทบของโครงการกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดจากการสะสมความร้อนที่จะมีผลกระทบทางลบกับบริเวณโดยรอบ
ตัวอย่างรายงานผลการประเมินมาตรฐานอาคารดังต่อไปนี้
แสดงให้เห็นแผนภูมิเรดาร์ (radar chart) และสดมภ์
(column)แสดงคะแนนของการประเมินค่า Q-1, Q-2,
Q-3, L-1, L-2, L-3 แล้วนำมาคำนวณหาค่า BEE หลังจากนั้น จึงนำไปกำหนดค่าลงในแผนภูมิแสดงค่า(rating chart) ทำให้สามารถระบุได้ว่าอาคารที่ถูกประเมินอยู่ในระดับ A B+
B- C หรือ S (sustainable)
เพิ่มเติม*
Green Marketing ของ CASBEE
CASBEE หรือ Comprehensive Assessment System for Building
Environmental Efficiency อันเป็นมาตรวัดอาคารเขียวของญี่ปุ่น แนวทางการพัฒนาของ CASBEE นั้น
มีการแบ่ง Rating คล้ายกับ LEED ได้แก่ New Construction สำหรับอาคารใหม่
Home สำหรับอาคารบ้านเดี่ยว Urban Development สำหรับการวางผังเมือง
และ Cities สำหรับ Policy ในภาพใหญ่
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดอันหนึ่งของ
CASBEE คือ CASBEE มีเกณฑ์ ในเรื่องการ วางระบบ “Market Promotion” สำหรับอาคารเขียวเป็นเอกสารอีกเล่มหนึ่งต่างหาก
โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการทำมาตรวัดทั่วๆไป เพราะทางองค์กร Japan
Sustainable Building Consortium (JSBC) ที่เป็นเจ้าของ ระบบ CASBEE นั้น
มองว่ามาตรวัดก็คือ เครื่องมือสื่อสารตัวหนึ่ง
แต่หากต้องการจะต่อยอดเป็นเครื่องมือทางการตลาดก็ควรจะมีการกำหนดทิศทางให้ชัดเจนให้คนทำเหมือนๆกัน
จึงได้คิด Market Promotion Manual ขึ้นมา
โดยให้เป็นเครื่องมือหลักๆสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
และผู้ประเมินอาคาร หลักการคือ
(1) ให้ทุกคนที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญอาคาร
ระดับสถาปนิก หรือวิศวกร
สามารถประเมินอาคารในแง่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองได้
(2) มีความเชื่อมโยงกับหลักอื่นๆ
ของมาตรวัดอาคารเขียวที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกเช่น LEED หรือ BREEAM
เพื่อให้บุคคลทั่วไปในโลกสามารถเข้าใจได้
(3) มีความเชื่อมโยงกับ
Common Metrics ที่เป็นเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมของ UNEP โดยโครงสร้างของตัวเล่มจะมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์วัดอาคารระดับโลกอื่นๆ
เช่น LEED ของสหรัฐอเมริกา BREEAM ของสหราชอาณาจักร BCA Green Mark ของ สิงคโปร์
และ Green Star ของออสเตรเลียเป็นต้น
โครงสร้างของเนื้อหาจะประกอบไปด้วย
ห้าหัวข้อ ที่มีความคล้ายคลึง กับ LEED ได้แก่
- Energy Consumption and Green House Gas Emissions ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- Water Use เรื่องการใช้น้ำ ซึ่งมองในเชิง Performance เป็นหลัก
- Material and Safety ซึ่งมองไปถึงเรื่องความทนทานของโครงสร้างต่อแรงกระทำแผ่นดินไหว ด้วย นอกจากวัสดุ
- Biodiversity and Land Use ที่ มองในแง่ของ ที่ตั้งอาคาร กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในดิน
- Indoor Environment ที่มองถึงในแง่จิตวิทยาเรื่องทิวทัศน์ ด้วย เป็นต้น – นับเป็นนวัตกรรมที่ญี่ปุ่น เริ่มจะเข้าสู่ยุคการตลาดสากล – ญี่ปุ่นกำลังศึกษาโครงการที่จะให้ CASBEE เป็นมาตรวัดอาคารที่เป็นสากลมากขึ้น ภายในปี 2014
ที่มา :
CASBEE :
Green Marketing ของ CASBEE :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น